รีวิว : ASUS ROG Phone 6 ครบสูตรสมาร์ทโฟนเกมมิ่ง จัดเต็มสเปกและฟีเจอร์

ยังคงเรียกได้เต็มปากว่า ‘สุดยอดสมาร์ทโฟนเกมมิ่ง’ สำหรับใครที่ต้องการนำสมาร์ทโฟนมาเล่นเกมจริง ๆ จัง ๆ ซึ่งที่ผ่านมาทาง ASUS ก็ได้ทำบ้านการมาแล้วหลายรุ่น จนล่าสุดเป็นรุ่นที่ 6 อย่าง ROG Phone 6 และ ROG Phone 6 Pro รอบนี้ใช้ชิปประมวลผลตัวแรงอย่าง Qualcomm Snapdragon 8+ Gen 1 พร้อมแรม LPDDR5 สูงสุด 18GB ที่ทุกวันนี้แซงหน้าเครื่อง PC บางเครื่องไปแล้ว ในครั้งนี้ก็ได้ตัว ROG Phone 6 มารีวิว ซึ่งแม้เป็นรุ่นรอง แต่ประสิทธิภาพกลับไม่ได้รองตามเลย โดยเปิดราคาที่ไม่เกิน 3 หมื่นบาท ลองมาดูกันว่า ROG Phone 6 ตอบโจทย์พอหรือยัง และควรค่าในฐานะสมาร์ทโฟนเกมมิ่งมากแค่ไหนกันครับ

รายละเอียดสเปก ASUS ROG Phone 6

หน้าจอ : Samsung AMOLED ขนาด 6.78 นิ้ว ความละเอียด Full HD+ (2448 x 1080) , สัดส่วน 20.4:9 , รองรับ Refresh Rate 165 Hz , รองรับ HDR10+ ความแม่นยำของสี ระดับ 111.23% DCI-P3, 106.87% NTSC, 150.89% sRGB และมีค่า Delta-E < 1 ครอบทับด้วยกระจก Corning Gorilla Glass Victus
หน่วยประมวลผล : Qualcomm SM8475 Snapdragon 8+ Gen 1 (4 nm) Octa-core
ชิปกราฟฟิก : Qualcomm Adreno 730
แรม : 12GB LPDDR5
รอม : 256GB แบบ UFS 3.1
กล้องหลัง : [50 MP + 13 MP + 5MP] แบ่งเป็นเลนส์หลัก 50 ล้านพิกเซล ใช้เซ็นเซอร์ IMX766 จาก Sony ในขนาด 1/1.56” พร้อมรูรับแสง F1.9 เลนส์ Ultrawide 13 ล้านพิกเซล F2.2 และเลนส์ Macro 5 ล้านพิกเซล
กล้องหน้า : 12 ล้านพิกเซล
พอร์ตเชื่อมต่อ : USB-C และช่องเสียบหูฟัง 3.5 มม. (มีชิปรองรับ Hi-Res ด้วย Qualcomm WCD9385)
เชื่อมต่อไร้สาย : WiFi 6E (2×2 MIMO) + Bluetooth 5.2  รองรับ aptX HD
แบตฯ : Li-Ion 6,000 mAh รองรับ Quick Charge 5 และ PD Charging
ขนาดตัวเครื่อง : 173 x 77x 10.4 มม.
น้ำหนัก : 239g
ระบบปฏิบัติการ : Android 12 ครอบทับด้วย ROG UI

แกะกล่อง

ครั้งนี้ตัว ROG Phone 6 Seires จะไม่แถมพัดลม AeroActive Cooler แล้ว (ซึ่งก็เข้าใจได้ว่าทำไมไม่แถม) ดังนั้นอุปกรณ์ในกล่องก็จะเหมือน ๆ สมาร์ทโฟนทั่วไป นอกจากตัวเครื่องแล้วมี หัวชาร์จ 65W , สาย USB-C to USB-C , Ejector pin หรือตัวแกะซิม และชุดคู่มือกับใบรับประกัน

และสำหรับตัว AeroActive Cooler 6 ก็กลายเป็นอุปกรณ์เสริมจำหน่ายแยกเป็นที่เรียบร้อย เดี๋ยวมาดูกันว่า จะใช้ได้คุ้มกับที่ต้องซื้อแยกหรือไม่

ดีไซน์ฉบับเกมมิ่ง

ROG Phone ก็ยังคงเป็น ROG Phone สำหรับใครที่เห็นข่าวเปิดตัวสมาร์ทโฟนซีรีส์นี้มานาน ก็คงรู้สีกคุ้นชินกับดีไซน์การออกแบบนี้ไปแล้ว เนื่องจากมีขนาดเท่าเดิมกับ ROG Phone 5 รุ่นก่อนเลย โดยหนัก 239 กรัมเหมือนกันเป๊ะ แต่แอบหนาขี้นเล็กน้อยจากเดิม 9.90 มม. เป็น 10.4 มม.

สำหรับใครที่เห็นครั้งแรก ROG Phone 6 ก็ยังคงความชัดเจนเลยว่า “เป็นสมาร์ทโฟนเกมมิ่ง 100%” ซึ่งด้านหลังมาพร้อมโลโก้ ROG Fearless Eys dot-matrix ที่มีฟีเจอร์ Aura RGB ช่วยแสดงสีสันหลังตัวเครื่องให้ดูโดดเด่นขึ้น สามารถปรับการแสดงผลสีได้หลากหลาย ส่วนนี้หากเป็นตัว ROG Phone 6 Pro จะเป็นหน้าจอ LED ปรับการแสดงรูปลักษณ์ของตัวโลโก้ได้เลย แต่เอาจริง ๆ แค่ตัว ROG Phone 6 ก็สวยแล้ว

ROG Fearless Eys dot-matrix

Gamer User

ครั้งนี้ ROG Phone 6 ก็ยังคงมาพร้อมฟีเจอร์เกมมิ่งจัดเต็มเช่นเคย ไม่ว่าจะเป็น X Mode , Game Genie , AirTrigger และอื่น ๆ แต่ในครั้งนี้จะพามาดูเฉพาะสามฟีเจอร์ดังกล่าว ซึ่งน่าจะเป็นฟีเจอร์เกมมิ่งที่ใช้งานบ่อยที่สุดแล้ว ลองมาดูว่ารอบนี้มีพัฒนาอะไรบ้าง และช่วยให้การเล่นเกมสนุกขึ้นเหมือนเคยหรือไม่

Game Genie

ฟีเจอร์พิเศษที่จะปรากฏตอนเล่นเกม นอกจากจะช่วยบอกสถานะต่าง ๆ ของตัวเครื่องแล้ว ยังปรับโหมดการเล่นเกมหรือเปิดฟีเจอร์พิเศษอื่น ๆ ได้ด้วย หน้าตา UI ออกแบบมาได้สวยงาม ให้อารมณ์เหมือนหน้าปัดรถแข่งยังไงยังงั้นเลย หากเทียบกับรุ่นก่อน ก็บอกได้เลยว่า ดูง่าย และ ใช้ง่าย ขึ้นกว่าเดิมเยอะทีเดียว จากที่เมื่อก่อนจะมาเป็นแถบด้านซ้ายมือแทน

X Mode

โหมดเปิดปิดการ Overclock หรือเปิดใช้งานตัวเครื่องแบบเต็มประสิทธิภาพ สำหรับโหมดนี้ก็ยังสามารถใช้ได้ง่าย ๆ เหมือนเคย เพียงแค่กดเปิดปิดสลับไปมาเท่านั้น ไม่ต้องไล่ปรับค่าอะไรต่าง ๆ ให้วุ่นวาน ข้อดีของการเปิด X Mode เลยคือ ทำให้ตัวเครื่องแรงขึ้น เล่นเกมได้ลื่นไหลขึ้น แต่ก็แลกกับแบตฯ ที่จะหมดไวขึ้น และตัวเครื่องร้อนขึ้นแทน ซึ่งปกติหากต้องการใช้งานโหมดนี้ได้คุ้มค่าสุด ก็ควรใช้งานร่วมกับตัว AeroActive Cooler 6 ซึ่งทำให้ถึงต้องใช้นั้น เดี่ยวมาดูกันครับ

AirTrigger

และฟีเจอร์ที่ต้องพูดถึงทุกครั้งที่รีวิวตัว ROG Phone ทุกรุ่นเลยคือ AirTriggers หรือปุ่มกด L R เสมือน บนขอบตัวเครื่อง คือให้อารมณ์คล้าย ๆ กับจอยสติ๊กนั้นเอง ในครั้งนี้ถ้าให้ว่าตามตรงเลย คือแทบไม่ต่างจากรุ่นก่อน เปิดใช้งานเหมือนกัน และให้ความรู้สึกในการกดแทบไม่ต่างกันด้วย แต่ประโยชน์ก็ยังคงมีอย่างมาก โดยเฉพาะหากนำไปเล่นเกมแนว FPS หรือ TPS ปุ่ม L R เสมือนนี้ จะช่วยได้มาก ๆ

AeroActive Cooler 6

“พัดลมที่เป็นมากกว่าพัดลม” ภาคต่อ AeroActive Cooler 6 คราวนี้มาเป็นอุปกรณ์แยกเต็มตัว ไม่แถมในกล่องแล้ว แต่แลกกับประสิทธิภาพที่ดีกว่าเดิม และใช้งานได้จริง จุดเด่นเบื้อนต้นของตัวอุปกรณ์นี้ คือมาพร้อมเทคโนโลยี Thermoelectric AI Cooling ที่มีแผ่นนำความร้อน Peltier Element ช่วยลดอุณหภูมิผิวสัมผัสที่ด้านหลังของตัวเครื่องโดยเฉพาะ ควบคุมการทำงานด้วย AI มีปุ่มกดเสริมพิเศษสำหรับการเล่นเกมมากถึง 4 ปุ่ม สุดท้ายไฟ RGB ที่เป็นสัญลักษณ์ ROG สุดงาม

ไฟ RGB สุดอลังการของตัว AeroActive Cooler 6

ลองใช้งานตัว AeroActive Cooler 6 สัมผัสแรกที่ได้เลยคือ “แอบใหญ่ไปนิด” คือว่ากันตามตรง ตัวอุปกรณ์เสริมนี้ ถือว่ามีขนาดค่อนข้างใหญ่กว่ารุ่นก่อนพอควร เลยทำให้พื้นที่ในการจับตัวสมาร์ทโฟน ROG Phone 6 นี้ ลดน้อยลงไปด้วย แต่สิ่งที่ได้มาคือปุ่มเสริม 4 ปุ่ม กับประสิทธิภาพในการระบายความร้อนที่สูงกว่าเดิมอย่างเห็นได้ชัด

และเพื่อให้ชัดเจนไปเลย ก็ลองใช้โหมดรอบพัดลมแบบสูงสุด ซึ่งการจะใช้งานโหมดนี้ จำเป็นต้องเสียบสายชาร์จเข้ากับตัว AeroActive Cooler 6 ด้วย ถึงจะเปิดใช้งานได้ จากนั้นก็ลองมาดูว่า สามารถลดอุณหภูมิขณะเล่นเกมบน ROG Phone 6 ได้ดีขนาดไหน

ก่อนเชื่อมต่อตัว AeroActive Cooler 6 นั้น อุณหภูมิปกติที่ได้ขณะเล่นเกมเลยคือ 42 องศา และอาจเพิ่มได้อีก

แต่หลังเชื่อมต่อกับ AeroActive Cooler 6 พร้อมเปิดโหมดรอบพัดลมสูงสุด อุณหภูมิก็คงที่ 38 องศา แทบไม่เพิ่มไปกว่านี้แล้ว

อนึ่งเสียงพัดลมดังใช้ได้อยู่เหมือนกัน

ประสิทธิภาพ

มาถึงส่วนประสิทธิภาพแล้ว เอาจริง ๆ หลายคนคงพอได้เห็นในหัวข้อ AeroActive Cooler 6 ไปแล้ว แต่คราวนี้ลองมาดู Gameplay บนตัว ASUS ROG Phone 6 แบบชัด ๆ กัน แน่นอนว่าไม่ได้ใส่ตัว AeroActive Cooler 6 จะได้เห็นไปเลยว่า ลำพังตัวสมาร์ทโฟนนี้ สามารถเล่นเกมได้ขนาดไหนกัน

ผลคือไหลลื่น ไม่มีปัญหา สามารถเล่นได้ยาว ๆ แม้จะแอบรู้สึกร้อนไปบ้าง แต่ตัวเครื่องก็ไม่มีอาการเครื่องร้อนจนกระตุกให้เห็นเลย แม้จะเล่นไปพักหนึ่งแล้วก็ตาม ถือว่าสมกับชื่อ ROG Phone และตัวชิปประมวลผลที่ใช้อย่าง Qualcomm Snapdragon 8+ Gen 1 ด้วย

คุณภาพกล้้องหลัง

ตามสเปกกล้องหลังของตัว ASUS ROG Phone 6 คือ [50 MP + 13 MP + 5MP] แบ่งเป็นเลนส์หลัก 50 ล้านพิกเซล ใช้เซ็นเซอร์ IMX766 จาก Sony ในขนาด 1/1.56” พร้อมรูรับแสง F1.9 เลนส์ Ultrawide 13 ล้านพิกเซล F2.2 และเลนส์ Macro 5 ล้านพิกเซล ส่วนภาพที่ได้ ก็ลองถ่ายจากทุกเลนส์ ซึ่งก็ได้คุณภาพตามนี้

ภาพจากกล้องหลัง ASUS ROG Phone 6

เห็นได้ชัดมาคมขึ้น ดีขึ้นจริง แต่ก็ยังไม่ใช่ ‘ฟีเจอร์หลัก’ ของตัวเครื่อง

สรุป

ถือว่าเป็น ‘สุดยอดสมาร์ทโฟนเกมมิ่ง’ จริงไหม สรุปคือ เป็นแน่นอน 100% เพียงแค่รุ่นรองอย่างตัว ASUS ROG Phone 6 ก็เพียงพอแต่การเล่นเกมแบบ ‘จริงจังเกมมิ่ง’ ได้ดีแล้ว และในฐานะ ‘สมาร์ทโฟน’ เอง ก็จัดเต็มสมราคาแล้ว ทั้งวัสดุกับดีไซน์ หน้าจอ แบตฯ ส่วนกล้องยังอีกนิด แต่ก็ถ่ายสวยกว่าเดิมมาก ๆ แล้ว

จริงจังเกมมิ่ง ASUS ROG Phone 6 มาพร้อมฟีเจอร์ที่ช่วยให้เล่นเกมสนุกขึ้นมากมาย และทุกฟีเจอร์ก็ใช้งานได้ดีหมด แต่หากคิดจะเล่นแบบจริงจังเกมมิ่ง ที่อาจต้องเล่นเกือบทั้งวันแล้ว ก็ควรหาอุปกรณ์เสริมอย่าง AeroActive Cooler 6 มาใช้ไว้เลย จำเป็นมาก ๆ ครับ

และสำหรับราคาเริ่มต้นของตัว ASUS ROG Phone 6 ก็อยู่ที่ 28,990 บาท (12GB/256GB) และ 32,990 บาท (16GB/512GB) และสุดท้ายตัว ROG Phone 6 Pro รุ่น Top สุด อยู่ที่ 39,990 บาท (18GB/256GB) ใครสนใจ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://rog.asus.com/th/phones/rog-phone-6-model/spec/

Shops
แชร์ :
review
  • วัสดุ / การออกแบบ
    (5)
  • สเปค / ฟีเจอร์
    (5)
  • ราคา / ความคุ้มค่า
    (4.5)
4.8
Comments Rating 0 (0 reviews)

Leave a Reply

User Review
  • วัสดุ / การออกแบบ
    Sending
  • สเปค / ฟีเจอร์
    Sending
  • ราคา / ความคุ้มค่า
    Sending

Follow us
Most popular
Category
Tag

Relate Article