รวมทริคเข้าใจง่าย ก่อนซื้อ CPU ออนไลน์ ต้องรู้

ด้วยสถานการณ์ของ Covid  ที่หลายคนกังวล ทำให้คนซื้อของออนไลน์กันมากขึ้น ข้อดีก็คือ เราไม่ต้องไปเดินช้อปเอง คลิกแล้วจ่ายเงินก็จบ แต่ข้อเสียคือ คนซื้อจะไม่ได้รับคำแนะนำจากคนขาย และไม่ได้เห็นของจริง จนกว่าของจะมาส่ง

ทำให้คนที่จัดสเปคออนไลน์ต้องมีความรู้พื้นฐานการจัดสเปคระดังหนึ่ง ถึงจะซื้อมาประกอบได้ถูก แต่หากใครยังไม่ชัวร์ Commart มีทริคแนะนำการซื้อง่าย ๆ ครับ

โดยเริ่มต้นกันที่ CPU ละกัน  ซึ่งถือเป็นอุปกรณ์ขั้นแรกสุดที่เราต้องเลือกก่อน  จากนั้นถึงเริ่มไปไล่ไปที่เมนบอร์ด แรมและการ์ดจอครับ

ทริคเลือกซื้อแบบด่วน  

  • ไม่ต้องกังวลว่าจะเลือกใช้งาน Intel หรือ AMD เพราะปัจจุบันไม่ว่าจะเป็น CPU แบรนด์ใดก็สามารถให้ประสิทธิภาพในการเล่นเกมดีทั้งนั้น (ยกเว้นที่เป็นรุ่นล่าง ๆ ของทั้งสองแบรนด์นะ)
  • หากต้องการใช้เล่นเกม Clock speed นั้นสำคัญกว่าจำนวนคอร์ การที่จำนวนคอร์มาก ไม่ได้หมายความว่าจะเล่นเกมได้ดีเสมอไป เพราะคอร์ที่มาก แค่อาจช่วยให้ประมวลงานตรงหน้าได้เร็ว เช่น การเรนเดอร์วีดีจะทำได้ไวขึ้น และเกมระดับ AAA ในปัจจุบันก็เรียกใช้งาน CPU มากสุดไม่เกิน 4 คอร์ครับ
  • อย่าเอา CPU แรง ๆ ไปใช้กับ Ram , HDD หรือ VGA ระดับล่าง ๆ  พยายามจัดให้สมดุล เพราะอาจใช้งาน CPU ได้ไม่คุ้ม
  • อาจไม่ต้องเลือก CPU ที่เป็นรุ่น Overclock (เพราะการ Overclock ไม่เหมาะกับทุกคน )

ที่นี้ เจ้า CPU มันก็มีอยู่สองค่ายหลัก ๆ ใช่ไหมที่พวกเราใช้อยู่ ไม่ Intel ก็ AMD ซึ่งอันนี้ต้องแล้วแต่คนชอบแล้วกันครับ   แต่ลำดับแรก ขอแนะนำการเลือกซื้อกับฝั่ง Intel ก่อนแล้วกัน ซึ่งจะมีตั้งแต่ Pentium ที่ใช้งานแบบทั่วไปจริง ๆ ไปจนถึง Core – i9 ที่ใช้งานระดับสูงมาก ๆ

อะไรคือความแตกต่างระหว่าง CPU ในแต่ละรุ่น ลองไปดูกันครับ

หากใครขี้เกียจอ่านยาว ๆ ผสมสรุปสั้น ๆ ให้ในพารากราฟนี้ โดยความแตกต่างหลัก ๆ ของ CPU ในแต่ละรุ่นก็คือ “จำนวนคอร์ อัตราการกินไฟ และราคา”

  • สำหรับ CPU  Pentium นับว่าเป็น CPU ที่ออกมาแบบมาให้กินไฟน้อยที่สุด ราคาถูกที่สุด สเปคก็ต่ำที่สุดด้วย ใช้ในงานทั่ว ๆ ไปโดยเฉพาะ เล่นเกมได้นิดหน่อย ๆ ส่วนใหญ่จะใช้ในเครื่องที่เน้นที่ออกแบบให้กินไฟน้อย ไม่แนะนำให้ซื้อไปเพื่อเล่นเกมออนไลน์
  • สำหรับ Core – i3 นั้น ถูกออกแบบมาให้มีจำนวนคอร์หรือ Thread มากขึ้นกว่า Pentium นิดหน่อย โดยมี 2 – 4 Core และ Ghz ไม่มาก  ใช้สำหรับประมวลผลทั่ว ๆ ไปได้ พิมพ์งาน เปิดเว็บ ดู Youtube ดู Netflix หรือทำอะไรเป็นอย่าง ๆ ไปได้ แต่หากเปิดแท๊ปมาก ๆ หรือดูวีดีโอที่มีความละเอียดหน่อยก็มีอืดเหมือนกัน
  • Core – i5 รุ่นอัพเกรดจาก i3 ขึ้นมาอีกหน่อย มีจำนวน Core อยู่ที่ 4 – 6 คอร์ จำนวน Core มากขึ้นจาก i3 นิดนหน่อย ราคาอยู่ประมาณกลาง ๆ เป็นรุ่นยอดฮิตที่สุดในเหล่าเกมเมอร์ เพราะพวกเขาจะซื้อ i5 แล้วเอาเงินที่เหลือทุ่มทีการ์ดจอแยก เพื่อทำให้เล่นเกมได้ดีขึ้น
  • Core – i7 จำนวน Core อยูที่ 6 – 10 คอร์ แน่นอนว่าจำนวนคอร์มากขึ้น ออกแบบมาสำหรับการทำงานที่ต้องการ การประมวลผลมาก ๆ เช่น การทำกราฟฟิก ตัดต่อวีดีโอ เปิดโปรแกรมหลาย ๆ อย่างพร้อม หรือรันเซิฟเวอร์เล็ก ๆ และด้วยจำนวน Core ที่มากขึ้น ก็กินไฟมากขึ้น และความร้อนก็มากขึ้นตามด้วย
  • Core – i9 ขั้นสุดของ CPU จาก Intel มีราคาแพงที่สุด กินไฟมากสุด ร้อนที่สุด หากเทียบกับทั้งสามตัวก่อนหน้า โดยจะมีจำนวนคอร์อยู่ที่ 8 – 16 คอร์ ใช้ในการประมวลผลหนัก ๆ เช่นการตัดต่อวีดีโอหรือการทำกราฟฟิคที่มีรายละเอียดมาก ๆ ใช้เพื่อทำเซิฟเวอร์หรือ Work Station แต่หากใครมีเงินเหลือจะซื้อมาเล่นเกม แล้วเผื่อไว้ทำงานในอนาคตก็ไม่ติดนะ แต่อาจจะต้องคำนึงถึงเรื่องความร้อนนิดนึง

รหัสตามท้าย CPU Intel

ตัวอักษร F

F (Requires discrete graphics)  หรือก็คือ CPU ที่มี F  ต่อท้าย จะไม่มีการ์ดจอในตัว  จึงจำเป็นต้องซื้อการ์ดจอเพิ่มต่างหาก

ตัวอักษร K

K (Unlocked) หมายความว่าสามารถปรับเพิ่มความเร็วของ CPU ได้มากกว่าเดิม หรือก็คือ การทำ Overclock ได้นั่นเอง

ตัวอักษร KF 

เป็นการเอาฟีเจอร์ทั้งสองข้อข้างต้นมารวมกัน  ซึ่งก็คือสามารถ Overclock และไม่มีการ์ดจอออนบอร์ดในตัวครับ เช่น Intel® Core i7-11700KF

ตัวอักษร X 

เป็นกลุ่ม CPU เดสก์ท็อประดับไฮเอน มีแกนประมวลผลเยอะขึ้น เหมาะใช้งานกับงานหนักๆ เช่น การตัดต่อวิดีโอ งานกราฟิกแอนิเมชัน หรือการประมวลผลขั้นสูง เช่น  Intel® Core™ i9-10940X

ทีนี้ มาที่ฝั่ง AMD กันบ้าง

ก่อนอ่านต่อ สำหรับใครที่เป็นสาย Ryzen เราต้องยอมรับก่อนข้อนึงนะว่า AMD พยายามจะตั้งชื่อรุ่นให้เหมือนกับ Intel คือ 3,5,7,9 เพื่อให้จำง่าย ส่วน Ryzen ก็เป็นชื่อทางการค้าเหมือนกับ Core I- นั้นแหละ และ 3 5 7 9 ก็เป็นตัวเลขที่ไล่ระดับความแรงของ CPU ยิ่งตัวเลขมากขึ้น จำนวนคอร์และราคาก็มากขึ้นตาม

  • มาเริ่มกันที่ Ryzen 3 เป็น CPU แบบใช้งานทั่ว ๆ ไป กินไฟเริ่มต้นที่ 65W ใช้ดูหนัง ฟังเพลง ดู Youtube Netflix พิมพ์งาน ส่งเมล์ได้สบาย ๆ มีจำนวนคอร์มากที่สุด 4 คอร์ และมีการ์ดจอแบบออนบอร์ดในตัว เน้นคุ้มค่าในราคาไม่แรง และหากซื้อการ์ดจอแยก ก็พอจะเกมออนไลน์ทั่ว ๆ ไปได้อยู่
  • Ryzen 5 เป็น CPU ระดับกลางถึงสูงไปนิดหน่อย (ขั้นกว่าไปนิดนึง) กินไฟเริ่มต้นที่ประมาณ 65W และเช่นเดียวกับ Core i5 ซีพียู Ryzen 5 เป็นตัวยอดฮิตในหมู่เกมเมอร์ เพราะราคาไม่แรง สามารถเล่นเกมหลัก ๆ ได้หมด (หากมีการ์ดจอแยก) มีให้เลือกตั้งแต่ 4 คอร์ ถึง 6 คอร์ และ Thread สูงสุดที่ 12 Thread บางตัวมีการ์ดจอแแบบออนบอร์ด และบางตัวไม่มี (วิธีการดูว่าตัวใดมีออนบอร์ด เดี๊ยวจะเขียนอยู่พารากราฟล่างนะ)
  • Ryzen 7 ออกแบบมาสำหรับการเล่นเกมแบบขั้นสุด กินไฟเริ่มต้นประมาณ 95W รองรับการทำ Multi-tasking หรือทำอะไรหลาย ๆ อย่างพร้อมกัน เช่น เปิดเกม เปิด Brower เปิด Emulator และโปรแกรมทำงานหนัก ๆ ไปพร้อมกันได้ มีจำนวนคอร์อยู่ที่ 8 Core 16 Thread ไม่มีการ์ดจอแบบออนบอร์ด (ต้องซื้อแยกนะเออ)
  • Ryzen 9 กินไฟเริ่มต้นที่ประมาณ 105W เป็น CPU สำหรับ Work station สำหรับงานที่หนักหน่วงจริง ๆ เช่น การปั้นโมเดล 3D การทำงานแบบ Multi Tasking การตัดต่อวีดีโอรายละเอียดสูง หรือการทำเซิฟเวอร์ระดับเริ่มต้นก็ทำได้ มีจำนวนคอร์มากที่สุดที่ 16 Core 32 Thread ไม่มีการ์ดจอแบบออนบอร์ด ต้องซื้อแยกเหมือนกันกับ Ryzen 7

ทีนี้ หากจะดูว่ารุ่นใด มีการ์ดจอแบบออนบอร์ดหรือไม่มี ให้ดูทีตัวย่อภาษาอังกฤษตามหลังรุ่น โดยถ้าเป็น

ตัวอักษร G

จะมี GPU ติดมาด้วยเช่น Ryzen 5 3400G เป็นต้น

ตัวอักร T

เป็นรุ่นประหยัดพลังงาน

ตัวอักษร S 

เป็นรุ่นประหยัดพลังงานแต่มี GPU พ่วงมาด้วยครับ

สุดท้ายตัว X เช่น Ryzen 7 3700X บอกได้หลายอย่าง แต่ส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับความแรงของ CPU หรือสัญญาณนาฬิกา (GHz) ที่เพิ่มขึ้น แต่ถ้าไม่มี X เช่น Ryzen 3700 เฉย ๆ จะมีสัญญาณนาฬิกาแบบ Standard โดยจะเป็นรุ่นทั่ว ๆ ไปสำหรับ Desktop

ผมหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับใครที่กำลังจะซื้อคอมใหม่นะ และหากใครมีงบจำกัด ก็ให้ดูว่าเราซื้อมาใช้งานแบบไหน หากเล่นเกม ก็จัด Ryzen 5 ไป แล้วเอาเงินไปดันการ์ดจอให้แรง ๆ แต่ใครเงินเหลือ ๆ จะซื้อ Ryzen 9 มาเล่นเกมนี่ ก็คงว่ามีไรมิได้ (ก็คนมีตังค์อ่ะนะ ฮ่าๆ) แต่ก็คำต้องคำนึงถึงความร้อนกันนิดนึงละกัน

ทีนี้ หากใครมีแพลนจะจัด Spec ผมหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยแหละนะ ก่อนเลือกซื้อ CPU ก็ลองถามตัวเองดูก่อนว่าจะใช้งานแบบไหนครับ

Shops
แชร์ :
Follow us
Most popular
Category
Tag

Relate Article