รีวิว : TP-Link OC300 Omada จับคู่ EAP660HD จัดการเน็ตเวิร์คจากที่ไหนก็ได้

รีวิวนี้อาจจะเฉพาะทางอยู่หน่อย แต่เข้าใจไม่ยาก สำหรับใครที่มีแผนจะทำระบบอินเทอร์เน็ต Wi-Fi ในออฟฟิศขนาดย่อม หรือในอพาร์ทเม้นท์ กรณีนี้ Mesh Wi-Fi อาจไม่เพียงพอ จำต้องใช้ Access Point หรือเราเตอร์ Wi-Fi ที่สามารถต่อ POE ได้ แต่ปัญหาคือ ‘มันต้องใช้หลายตัว’ จะให้มาควบคุมทีละตัวคงเหนื่อยแน่นอน


ในรีวิวนี้ก็แนะนำให้รู้จัก TP-Link OC300 Omada เป็น Hardware Controller หรือตัวช่วยควบคุมเน็ตเวิร์คจากที่ไหนก็ได้ผ่าน Cloud คือไม่ต้องต่อ Wi-Fi ตัวอุปกรณ์ที่ต้องการตั้งค่า เราสามารถ Config ระบบผ่านเน็ต 4G/5G ก็ได้นั้นเอง โดยควบคุมได้ในที่เดียว จบในตัวเดียว ไม่ต้องไปไล่ Confic อุปกรณ์ปล่อย Wi-Fi ทีละตัวให้เหนื่อย ส่วนอุปกรณ์ปล่อย Wi-Fi ในที่นี้คือ EAP660HD เป็นเราเตอร์ POE คุณภาพสูง พร้อมรองรับ Wi-Fi 6 ซึ่งจะใช้งานได้ง่ายขนาดไหน และมีคุณภาพขนาดไหน ลองมาดูกันครับ

TP-Link OC300 Omada 

  • Centralized management for up to 500 Omada access points, JetStream switches, and SafeStream routers.
  • Cloud access to manage from anywhere, anytime.
  • Locally monitor and manage devices with the ultimate security and stability.
  • The Omada app for convenient management.
  • Industry-leading hardware design with a powerful chipset, durable metal casing, and USB 3.0 port for auto backup.
  • Batch management, multi-site management, and remote firmware updates benefit network maintenance.
  • The easy-to-use dashboard makes it easy to see your real-time network status and check network usage and traffic distribution.
  • Network topology helps IT admins quickly see and troubleshoot connections at a glance.
  • https://www.tp-link.com/th/business-networking/management-platform/oc300/

TP-Link EAP660HD

  • AX3600 Wireless Dual Band Multi-Gigabit Ceiling Mount Access Point
  • Ultra-Fast Wi-Fi 6 Speeds: Simultaneous 1148 Mbps on 2.4 GHz and 2402 Mbps on 5 GHz totals 3550 Mbps Wi-Fi speeds.†
  • High-Density Connectivity: 4× increased capacity to connect more devices simultaneously.‡
  • Integrated into Omada SDN: Zero-Touch Provisioning (ZTP)§, Centralized Cloud Management, and Intelligent Monitoring.
  • Centralized Management: Cloud access and Omada app for ultra convenience and easy management.
  • 2.5G Port: A 2.5 Gbps Ethernet port boosts total internet throughput.
  • Seamless Roaming: Even video streams and voice calls are unaffected as users move between locations.
  • PoE+ Support: Supports Power over Ethernet (802.3at) for convenient deployment and installation.
  • Secure Guest Network: Along with multiple authentication options (SMS/Facebook Wi-Fi/ Voucher, etc.) and abundant wireless security technologies.
  • https://www.tp-link.com/th/business-networking/ceiling-mount-ap/eap660-hd/

แกะกล่อง

ในรีวิวนี้จะมีทั้งตัว TP-Link OC300 Omada ซึ่งภายในกล่องจะประกอบไปด้วย Ethernet Cable , Rackmount Kit , Power Cord และชุดคู่มือ ส่วน EAP660HD ในกล่องก็ประกอบไปด้วย Ceiling/Wall Mounting Kits , Power Adapter และชุดคู่มือ เช่นกัน

งานออกแบบ

TP-Link OC300 Omada กับ EAP660HD ทั้งสองนับเป็นอุปกรณ์ใช้งานในระดับองค์กร ดังนั้นเรื่องดีไซน์คงไม่จำเป็น แต่จะเน้นการใช้งานและความทนของตัวอุปกรณ์แทน

TP-Link OC300 Omada ตัว Hardware Controller รอบนี้มาพร้อมขนาดที่ใหญ่ขึ้นพอควร เป็นเหล็กทนทานทั้งตัว โดยแลกกับสเปกภายในที่ทรงพลังกว่าเก่า มีชิปที่ทรงพลังมาพอที่จะจัดการอุปกรณ์เน็ตเวิร์คที่เชื่อมต่อได้เป็นร้อย ๆ ตัวนั้นเอง (รองรับได้ถึง 500 Device กับ 15,000 Clients) โดยตัวเครื่องก็มีช่อง Gigabit สองช่อง สามารถต่อ Switches ได้อีกสองตัว และยังมีช่อง USB 3.0 ไว้ต่ออุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล เพื่อทำ Auto-Backup ระบบได้ด้วย

ส่วน EAP660HD แม้หน้าตาจะดูเรียบ ๆ และค่อนข้างเทอะทะไปบ้าง (ออกแบบสำหรับติดผนังเป็น Ceiling Mount โดยเฉพาะ) แต่ต้องบอกเลยว่ามันคือ เราเตอร์ Wi-Fi ที่มีคุณภาพสูงมาก ๆ ตัวหนึ่งเลย ทั้งรองรับ Wi-Fi 6 และเป็น Dual Band ซึ่งรองรับความเร็วคลื่น 2.4 GHz ได้ถึง 1148 Mbps กับคลื่น 5 GHz ได้ถึง 2402 Mbps มี OFDMA กับ MU-MIMO และพอร์ตอีเธอร์เน็ตแบบ 2.5 Gbps ให้หนึ่งช่อง และยังรองรับ POE+ ด้วย สามารถรองรับการจ่ายไฟผ่าน POE+ สาย LAN สายเดียว ไม่ต้องลากสายไฟ AC ให้เกะกะ สุดท้ายมีระบบความปลอดภัยมากมาย อาทิ WPA, WPA2, WPA3

การใช้งาน

ในส่วนการใช้งานนี้ อยากให้ทุกคนจินตนาการว่า เรากำลังมี EAP660HD ซึ่งเป็นตัวแทนของ Access point นับ 10 – 100 ตัว ซึ่งทั้งหมดก็เชื่อมต่อผ่าน Switches สองเครื่อง และผ่าน OC300 Omada แม้ความจริงจะมีเพียง EAP660HD กับ Switches อย่างละหนึ่งเครื่องก็ตาม ฉะนั้นรีวิวนี้ก็จะเป็นการเผยให้เห็นไปเลยว่า หน้าควบคุมระบบเน็ตเวิร์คจะเป็นยังไง และใช้งานได้สะดวกมากแค่ไหน

 

ตามคอนเซ็ปต์ของ OC300 Omada คือตั้งค่าผ่าน Cloud ได้ ความหมายก็คือสามารถตั้งค่าเน็ตเวิร์คผ่านแอปฯ ได้นั้นเอง และนี่คือหน้าตั้งค่าแรกของแอปฯ Omada ในขั้นตอนนี้ก็จะตล้าย ๆ กับการตั้งค่าเราเตอร์ Wi-Fi ทั่ว ๆ ไป ทำได้ไม่ยาก

หลังตั้งค่าเสร็จเรียบร้อย ก็เข้าสู้หน้าจัดการเน็ตเวิร์คของ OC300 Omada อย่างเป็นทางการแล้ว ซึ่งเราสามารถพบหน้าการตั้งค่านี้จากที่ไหนก็ได้เลย ไม่ต้องมาอยู่ใกล้ ๆ กับอุปกรณ์ แล้วเชื่อมต่อ Wi-Fi นั้น ๆ ให้เสียเวลา อีกทั้งยังเป็นการตั้งค่าผ่านแอปฯ ทำให้ใช้งานผ่านมือถือได้สะดวก และในแอปฯ Omada เอง ก็มีหน้าเมนู Config ต่าง ๆ ให้ครบครันไม่แพ้การตั้งค่าผ่าน Browser

สามารถตั้งค่าผ่านแอปฯ Omada ในสมาร์ทโฟน จากที่ไหนก็ได้

แต่ถ้าถนัด Config ผ่าน Browser มากกว่า ก็สามารถทำผ่าน Cloud ได้เช่นเดียวกับแอปฯ Omada

ต่อไปลองมาดูกันว่า เราสามารถตั้งค่าระบบเน็ตเวิร์คอะไรได้บ้างใน OC300 Omada เริ่มจากหน้า Dashboard หน้าแรก ในหน้านี้ก็จะแสดงสถานะของอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เข้ามาเชื่อมต่อกัยตัว OC300 Omada อย่างตอนนี้เรามีเราเตอร์ EAP660HD มาเชื่อมต่อ 1 ตัว ก็จะขึ้นสถานะเป็น 1 Devices ตามภาพ

สามารถดูสถานะของเราเตอร์ EAP660HD ได้ทันที ซึ่งก็จะแสดงหมดทั้งการประมวลผลต่าง ๆ และการใช้งานอินเทอร์เน็ต ดาวน์โหลด/อัพโหลด ไปเท่าไรแล้ว

ถ้ามี EAP660HD หรืออุปกรณ์ Access point เชื่อมต่อหลาย ๆ ตัว ก็ดูผ่านแผนผังแบบเข้าใจง่ายนี้ก็ได้

สำหรับการตั้งค่าในระบบ Omada ก็จะแบ่งเป็น Site สามารถจัดการ EAP660HD หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ที่มีมากกว่า 1 ตัวได้ในคราวเดียว โดยการตั้งค่าก็มีทั้งการตั้งค่า Site กำหนดชื่อและการทำงานของอุปกรณ์ จากนั้นก็กำหนดระบบเน็ตเวิร์ค จุดนี้บอกเลยว่า ถ้าไม่มีตัว OC300 Omada ก็ต้องมานั่งทำแบบนี้ 10 – 100 ครั้งกันเลย เหนื่อยแน่นอน แต่นี่คือทำครั้งเดียวจบ

หน้าตั้งค่าการเชื่อมต่อ Wi-Fi ตั้งค่า LAN และระบบความปลอดภัย สามารถจัดการได้หมด

อีกหนึ่งฟีเจอร์ที่ชอบเป็นพิเศษคือ สามารถสร้างหน้า Portal ออกแบบหน้า Log-In อินเทอร์เน็ตสำหรับลูกค้าได้ เช่น เราเปิดร้านกาแฟ ก็ออกแบบหน้า Portal ให้มีรูปถ้วยกาแฟหรือเมล็ดกาแฟ ให้สมกับบรรยากาศร้านก็ได้ โดยออกแบบได้ทั้งหน้า PC และสมาร์ทโฟน

ตั้งค่า Cloud Access หรือก็คือการสร้างลิงค์ สำหรับเข้ามา Config ระบบจัดการต่าง ๆ นั้นเอง โดยใช้ชื่อ ID หรืออีเมล์ของ Admin เป็นกุญแจเข้าระบบผ่านเว็บ Browser

เช็ค Notification การเคลื่อนไหวของระบบภายในได้ทั้งหมด

ประสิทธิภาพ

สำหรับการเทสประสิทธิภาพครั้งนี้ ก็จะเน้นไปทาง EAP660HD ที่เป็นเราเตอร์ ซึ่งใน OC300 Omada ที่เป็น Hardware Controller เราได้เห็นการใช้งานไปแล้วนั้นเอง ต่อไปก็มาดูกันว่าตัว EAP660HD จะสามารถกระจายสัญญาณ Wi-Fi ได้ดีขนาดไหน

เทสการเชื่อมต่อผ่าน Wi-Fi (แบบ ac) ในระยะใกล้ กับความเร็ว 100/100 mbps ก็สามารถขับได้ใกล้เคียงไม่มีปัญหา


ต่อไปลองออกห่างในระยะไกล ประมาณบ้าน 1 หลัง

ความเร็วจาก 100/100 Mbps ก็เหลือประมาณ 49 Mbps (อัพโหลด 16 Mbps) ถือว่าโอเคเลยในระยะห่างขนาดนี้ ถ้าหากเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ที่เป็น Wi-Fi 6 ด้วยกัน จะได้ผลออกมาดีกว่านี้แน่นอน

สรุป

พระเอกในรีวิวนี้ก็ขอยกให้กับ TP-Link OC300 Omada ที่ทำหน้าที่เป็น Hardware Controller ได้ไม่ยากอย่างที่คิด สารภาพว่าช่วงแรก คิดว่ารีวิวไม่ได้แน่ ๆ เพราะเป็นอุปกรณ์ที่เฉพาะทางจริง ๆ แต่หลังใช้งานดูแล้ว กลับเข้าใจง่ายกว่าที่คิด พอเข้าใจคอนเซ็ปต์ ก็รู้ซึ้งเลยว่า มันจะเป็นประโยชน์มากขนาดไหนสำหรับคนที่เป็น Admin ดูแลระบบเน็ตเวิร์คขนาดใหญ่นี้ คือจบในตัวจริง ๆ และสะดวกด้วย เวลามีปัญหาก็แทบไม่ต้องเข้ามาที่ตึก สามารถอยู่บ้านแล้วกด Config ตั้งค่าต่าง ๆ ผ่านมือถือ หรือผ่าน Browser ใน PC จากระยะไกลได้เลย ส่วนตัว EAP660HD ก็เป็นเราเตอร์ Wi-Fi คุณภาพสูงสมกับสเปก เหมาะกับการเชื่อมต่อใช้งานอินเทอร์เน็ตได้หลาย ๆ อุปกรณ์พร้อมกันโดยแท้

สำหรับท่านใดที่สนใจตัว TP-Link OC300 Omada และ EAP660HD ติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่ https://www.tp-link.com/th/ หรือ Facebook : https://www.facebook.com/TPLinkTH

Shops
แชร์ :
review
  • วัสดุ / การออกแบบ
  • สเปค / ฟีเจอร์
  • ราคา / ความคุ้มค่า
Comments Rating 0 (0 reviews)

Leave a Reply

User Review
  • วัสดุ / การออกแบบ
    Sending
  • สเปค / ฟีเจอร์
    Sending
  • ราคา / ความคุ้มค่า
    Sending

Follow us
Most popular
Category
Tag

Relate Article