Buyer’s Guide เลือกซื้อ UPS ให้ตรงจุด ได้ของคุ้ม ไม่เกินความจำเป็น

ผมเชื่อว่าหลายคนมักมอง UPS เป็นอุปกรณ์ท้าย ๆ หลังจากที่เรากำเงินไปซื้อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ แต่บางคนก็แนะนำให้เราซื้อ UPS ติดมาด้วย เพื่อยืดอายุการใช้งานอุปกรณ์เรา แต่มันจำเป็นไหม และใครที่ควรใช้งาน
UPS คืออะไร มีความจำเป็นขนาดไหน

UPS ย่อมาจากคำว่า Uninterruptible Power Supply แปลเป็นไทยตรง ๆ ก็คือแหล่งจ่ายพลังงานต่อเนื่องครับ แต่คนไทยจะชินกับคำว่า “เครื่องสำรองไฟ” ซึ่งก็ไม่ผิดครับ และหากถามว่ามีความจำเป็นต้องใช้งานขนาดไหน ขึ้นอยู่กับว่าเราให้ความสำคัญกับงานหรืออุปกรณ์ที่เราใช้งานระดับใด

ยกตัวอย่างเช่น หากเราใช้ทำงานอยู่ จู่ ๆ ไฟตกหรือไฟดับขึ้นมา คอมก็ดับไปทันที งานเซฟไม่ทัน ต้องมาเริ่มทำใหม่ พาหัวเสียไปอีก อันนี้ก็ควรต้องใช้ถูกไหม หรือหากเกิดไฟดับขึ้นมาแล้วพาอุกปกรณ์บางอย่างเสียหาย เช่น SSD ที่มีความอ่อนต่อกระแสไฟมาก ๆ ก็ควรต้องใช้อีกอยู่ดี

มีแต่แนะนำให้ใช้ ก็ควรต้องซื้อ ? อย่างที่บอกข้างต้นว่า ผมไม่ได้บังคับครับ บางคนก็ไม่มี UPS ใช้ เพราะอาจจะมีคอมไว้ใช้เล่นเกมหรือเข้าเว็บทั่ว ๆ ไป ดับก็เปิดใหม่ ซึ่งไม่ได้ซีเรียสอะไรเลย ก็ไม่มีความจำเป็นต้องจ่ายเงินเพิ่มครับ

UPS ช่วยให้เราเตรียมตัว ไม่ได้ให้ใช้งานต่อ

หลายคนเข้าใจว่า ให้เรามี UPS หรือเครื่องสำรองไฟไว้ให้ใช้งานต่อเนื่อง แม้ไฟจะดับ … ในความเป็นจริงแล้ว จุดประสงค์ในการออกแบบมา มันไม่ใช่แบบนั้นครับ เราอาจจะชินกับคำว่า “เครื่องสำรองไฟ แต่แท้จริงแล้ว UPS จะมีการออกแบบมาให้กัน ไฟตก ไฟดับ เพื่อให้เรากดเซฟงาน หรือปิดคอมได้ทัน โดยทั่วไปจะมีระยะเวลา 1 – 10 นาที แล้วแต่ความจุแบตและอัตราการใช้พลังงาน ณ ขณะนั้น

นอกจากนี้ UPS ตัวที่มีคุณภาพหน่อยอย่างพวก APC Pro Series จะมีระบบป้องกันไฟเกินหรือกระชากเนื่องแรงดันไฟฟ้านั้นเพิ่มขึ้นสูง มากกว่าช่วงแรงดันไฟปกติ สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งจะมีการแปลงแรงดันที่เกินหรือต่ำเกินไป และปล่อยออกมาให้อยู่ในช่วงคลื่นที่สเถียรมากที่สุด เรามักเรียกว่า Sine Wave ครับ ทำให้ PSU ไม่ต้องรับภาระที่หนักเกินไป ช่วยยืดอายุการใช้งานได้อีกมาก

UPS แบบ Line Interactive และ True Online

เรื่องนี้อาจจะลงลึกเรื่องเทคนิคไปหน่อย แต่จะพยายามสรุปให้สั้นที่สุดแล้วกันครับ
ปัจจุบัน UPS นั้นแบ่งออกเป็นสองส่วนหลัก ๆ นั่นคือ UPS ที่มีการออกแบบ แบบ Line Interactive และแบบ True Online เรื่องของการใช้งานแทบจะไม่ต่างกันเท่าไหร่ครับ แต่แตกต่างกันที่เรื่องการออกแบบระบบภายในและราคา

UPS แบบ Line Interactive จะมีแบ่งออกเป็นสองชนิด คือรุ่นที่มีตัวปรับแรงดันไฟฟ้าอัตโนมัติ (Stabilizer) และตัวที่ไม่มี Stabilizer ซึ่งรุ่นที่ไม่มีระบบปรับแรงดันอัตโนมัติมีประโยชน์อย่างเดียวคือเอาไว้ใช้สำรองไฟ ไม่ได้สนว่าไฟที่เข้ามาจะมากเกิน หรือ ต่ำเกินไป ไฟตัดปุ๊ป ก็ดึงไฟไปใช้ต่อ ซึ่งปัจจุบันแถบจะไม่มีให้เห็นแล้ว

UPS แบบ Line Interactive ที่มี Stabilizer จะมีระบบปรับแรงดันไฟฟ้ามาให้ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการใช้งานแบบปกติที่มีไฟฟ้าเข้ามา หรือไฟตก แล้วดึงไฟจากแบตไปใช้ก็จะปรับแรงดันไฟฟ้าให้อยู่ที่มาตรฐาน 220 โวลต์ให้ได้มากที่สุด เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายต่ออุปกรณ์ที่ต่อพ่วงครับ

UPS แบบ True Online เป็นการออกแบบภายในที่สามารถป้องกันปัญหาของไฟฟ้าได้ทุกกรณีครับ มีความเที่ยงตรงของระดับแรงดันไฟฟ้า และปราศจากสัญญาณรบกวนใดๆ เพื่อป้องกันไม่ให้อุปกรณ์ต่อพ่วงเสียหาย มีระยะ Tranfer Time หรือช่วงเวลาที่เปลี่ยนมาใช้แบตสำรองต่ำหรือแทบจะไม่มีเลย แต่ข้อเสียคือราคาสูงกว่ามากและอายุการใช้งานแบตเตอรี่ที่สั้นกว่าแบบ Line Interactive ครับ

Step Wave VS Sine Wave

เมื่อพูดถึง Sine Wave ในหัวข้อก่อนหน้า ก็อยากให้หลาย ๆ คนเข้าใจเรื่องนี้อีกนิดนึง เพราะมันจะทำเข้าใจเรื่อง Line Interactive และ True Online มากขึ้นครับ
โดยปกติแล้ว เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดถูกออกแบบมาให้สามารถรับแรงดันไฟฟ้าที่เสถียรอย่าง Sine Wave ซึ่งจะช่วยให้อุปกรณ์ไม่เกิดความเสียหาย

แต่จะมีบางกรณีที่ไฟฟ้าถูกปล่อยมาเกินหรือต่ำเกินไป และไฟฟ้าอาจจะถูกปล่อยมาเป็นแบบ Step Wave หรือแบบขั้นบรรใด ซึ่งเกิดได้จากหลายกรณี เช่น การใช้ไฟเกิน การเดินสายไฟในบ้าน หรือแม้กระทั่งความผิดพลาดของการไฟฟ้า เราจึงได้เห็นปลั๊กไฟกันกระชากหรือปลั๊กที่มีตัวปรับแรงดันอัตโนมัติ (Stabilizer) ขายกันเกลื่อน รวมทั้ง UPS รุ่นใหม่ ๆ ก็มีระบบนี้มาให้เช่นกัน

หากในสถานกาณณ์ปกติ ไฟฟ้าที่มาปล่อยมาจากการไฟฟ้าจะมีลักษณะเป็นคลื่นแบบ Sine Wave เป็นคลื่นสีฟ้าสวยงาม หากเรานำมาเสียบเข้ากับ UPS มันก็ะปล่อยแรงดันไปให้อุปกรณ์ต่อพ่วงเป็นแบบ SIne Wave ไปเข้าคอมพิวเตอร์เราครับ

แต่หากเกิดไฟดับ ไฟกระชาก หรือไฟตก จากกรณีต่าง ๆ UPS ถูกๆ บางรุ่นที่ไม่มีตัวปรับแรงดันไฟ จะไปดึงไฟจากแบตเตอรี่ และปล่อยไฟฟ้าไปเป็น Step wave ซึ่งมีโอกาศที่แรงดันไฟฟ้าอาจจะเกินหรือต่ำเกินไป ส่งผลให้เกิดความเสียของกับคอมของเราได้
หมายเหตุ : Stepe Wave นั้นมีการเรียกอีกหลายชื่อนะ ไม่ว่า Square Wave , Modified wave ซึ่งคือรูปแบบแรงดันไฟฟ้าที่แถบจะเหมือนกันทั้งหมดครับ

ฉะนั้นจะเลือกซื้อ UPS ทั้งที เอารุ่นไปค้นหาข้อมูลดูใน Google ก่อนว่า เค้ารองรับเทคโนโลยีแบบใด และปล่อยแรงดันไฟฟ้าออกมาเป็นลักษณะใด ยกตัวอย่างเช่น UPS จาก APC ที่ผมลองเอาชื่อรุ่นไปค้นหา แล้วเข้าไปดูเว็บไซต์ของ APC เขาจะระบุข้อมูลไว้ทุกอย่าง ทั้งเรื่องของ เทคโนโลยีการออกแบบและรูปแบบแรงดันไฟฟ้าที่ออกมาจากตัว UPS ครับ

ควรซื้อ UPS กี่วัตต์

เรื่องนี้อาจเป็นปัญหาโลกแตกของใครหลายคน เตรียมเงินไปแล้ว แต่ควรซื้อ UPS กี่วัตต์ เพราะยิ่งวัตต์สูงราคาจะยิ่งสูงตามครับ
ในแบบเดิมก็คือ หลายคนเลือกซื้อตาม PSU ในคอมพิวเตอร์ หาก PSU 600 วัตต์ ก็ซื้อ UPS 600 วัตต์ตาม ง่าย ๆ แต่จบ แต่หากใครใช้ PSU 1200 วัตต์ ล่ะ ? มันจะหมดค่า UPS ไม่ใช่น้อยเหมือนกันนะครับ
ดังนั้น สิ่งที่ถูกต้องคือการคำนวนไฟก่อนไปซื้อ เราสามารถเข้าไปคำนวนที่เว็บคำนวน PSU ก็ได้ครับ

แต่หากจะให้ชัวร์สุดคือหาซื้อ Plug power meter ซึ่งเป็นเครื่องวัดการใช้ไฟฟ้าได้แบบเรียลไทม์ ราคาอยู่ที่สามร้อยถึงหนึ่งพันบาทครับ ลองมาเสียบดูว่าคอมเราใช้ไฟฟ้าเท่าไหร่ และให้ลองเปิดทุกโปรแกรมจนที่เราใช้งานเป็นประจำขึ้นมา จากนั้นเราจะรู้ว่าควรซื้อ UPS เท่าไหร่ดี (แนะนำให้ซื้อเผื่อสัก 100 วัตต์นะครับ ยกตัวอย่างเช่น ใช้งาน 300 วัตต์ ก็ให้ซื้อ UPS สัก 400 วัตต์ครับ

UPS ใช้งานกับอะไรได้บ้าง

จากที่เขียนมา เหมือนผมเชียจะใช้งานได้กับคอมพิวเตอร์เพียงอย่างเดียว และหลายคนมักจะเข้าใจแบบนั้น จริง ๆ แล้ว UPS สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าใดๆ ก็ตามที่เราซีเรียส หากมันจะเสียหรือใช้งานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพพราะปัญหาของไฟฟ้าครับ

ซึ่งเครื่องสำรองไฟฟ้าจาก APC ที่ได้เกริ่นไปตั้งแต่ต้น เค้าได้มีรุ่นที่รองรับการใช้งานในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์แบบ All in one ที่ใช้พลังงานต่ำ , Desktop PC และ Nas , Gaming PC ไปจนถึง Smart TV และกล้อง CCTV ที่ใช้ในบ้านและองค์กร รวมทั้งนักขุดเหมือง Cryptocurrency ที่ต้องการความสเถียนรของระบบไฟฟ้ามาก ๆ APC ก็มีรุ่นให้เลือกใช้งานได้ครับ

Shops
แชร์ :
Follow us
Most popular
Category
Tag

Relate Article