นิยามของ ‘เราเตอร์เกมมิ่ง’ คืออะไร ? หากเป็น สมาร์ทโฟนเกมมิ่ง หรือ โน้ตบุ๊กเกมมิ่ง หลายคนคงเข้าใจได้ไม่ยาก แล้วถ้างั้นเราเตอร์เกมมิ่งช่วยอะไร ต้องยอมรับก่อนว่าเกมสมัยนี้ เกือบทุกเกมเป็นเกมออนไลน์กันซะเยอะ ในเมื่อออนไลน์ก็ต้องใช้อินเทอร์เน็ต ในเมื่อใช้อินเทอร์เน็ตก็ต้องมีเราเตอร์ และในเมื่อมีเราเตอร์ + เกมมิ่ง ก็หมายความว่า อินเทอร์เน็ตจะต้องเร็วแรงเป็นพิเศษ จนเล่นเกมออนไลน์ได้อย่างไม่ติดขัดนั้นเอง
รีวิวนี้พบกับ ASUS TUF Gmaing Wi-Fi 6 Router AX5400 หรือ ASUS TUF AX5400 เป็นเราเตอร์เกมมิ่งอีกทางเลือกจาก ASUS ที่คัดเอาเฉพาะฟีเจอร์เกมมิ่งที่จำเป็นจริง ๆ ทำให้มีราคาจับต้องได้ง่ายขึ้น แต่ก็ยังชูโรงด้วยสเปกระดับ Hi-End อย่าง ความเร็วสูงสุด 5400 Mbps มี Wi-Fi 6 มีช่อง LAN Gaming Port สำหรับเล่นเกมโดยเฉพาะ กับเทคโนโลยีช่วยเชื่อมต่อไร้สายคุณภาพ ที่ใส่มาครบทั้ง OFDMA, BSS colouring และ MU-MIMO สุดท้ายโลโก้ TUF บนตัวเครื่อง ที่มาเป็นไฟ RGB มาให้เลย อีกจุดเด่นสำคัญคือ AiMesh สามารถทำ Mesh WiFi จากเราเตอร์ ASUS ได้ง่าย ๆ ช่วยลบจุดสัญญาณ Wi-Fi ภายในบ้าน แต่ในที่นี้เรามีเราเตอร์ ASUS ตัวเดียว จึงอดทดสอบส่วนนี้ไปปริยาย สำหรับตัวเครื่องจะน่าใช้งาน (และน่าสอย) แค่ไหน ลองมาดูกันครับ
ฟีเจอร์เด่น ASUS TUF Gmaing Wi-Fi 6 Router AX5400
- Ultrafast WiFi 6 – Enjoy speeds up to 5400 Mbps and 4X network efficiency with OFDMA and 160 MHz channels.
- Fast & Stable Wired Gaming – Dedicated gaming port to prioritize connected gaming device.
- Easy Port Forwarding in 3 Steps – Open NAT makes port forwarding simple, eliminating frustrating and complicated manual configuration.
- ASUS AiMesh Support – Create a flexible, seamless whole-home mesh network with AiMesh-compatible routers.
- Tested Durability and Stable Operation – TUF Gaming AX5400 is built to be durable and undergoes verified testing to ensure reliable, stable operation.
แกะกล่อง
แว่บแรกนึกว่ากล่องเมนบอร์ด ASUS ซะอีก ตัวกล่องเหมาะเอาไปวางโชว์คู่กับบรรดากล่องชิ้นส่วน DIY PC มาก ๆ ส่วนภายในกล่องก็มีตัวเราเตอร์ ASUS TUF AX5400 มีสาย LAN กับชุดไฟเลี้ยงที่มีหัวต่อต่างกัน 3 มาให้เลย (ใช้ได้ 2 แบบในบ้านเรา) และสุดท้ายมีชุดคู่มือกับใบรับประกัน
เกมมิ่ง TUF ดีไซน์
จากใจเลย เป็นเราเตอร์เกมมิ่งที่หล่อที่สุดเท่าที่เคยเจอมาเลย ไม่น่าเชื่อว่านี่คือเราเตอร์เกมมิ่งในราคาครึ่งหมึ่น แต่มีดีไซน์หลักหมื่นไปแล้ว ตัวเราเตอร์มีลักษณะเหมือนอุปกรณ์ Military (ทางการทหาร) ตามสไตล์ TUF Gaming แต่เอาตามตรง รู้สึกว่ามันเหมือนอากาศยานจากยุค Sci-Fi ยังไงยังงั้น ทั้งมาในโทนสีดำด้านทั้งตัว ถูกจริตส่วนตัวสุด ๆ (ดีกว่ารุ่นที่มีวัสดุผิวมันเงา ซึ่งเป็นรอยง่ายไป) สำหรับใครที่เป็นแฟน ๆ ซีรีส์ TUF น่าจะถูกใจกัน ส่วนผมเองที่ไม่ใช่แฟนซีรีส์นี้ ก็ยังรู้สึกถูกใจเหมือนกันครับ
มีโลโก้ “TUF Gaming” บนตัวเครื่อง กับอีกโลโก้ TUF ที่มาเป็นไฟ LED เด่นสง่าบนตัวเครื่อง ทั้งยังเป็น AURA RGB เปลี่ยนเป็นสีอื่นหรือเอฟเฟคอื่นได้ด้วย
เสาสัญญาณก็มีมาให้ถึง 6 เสา ปล่อยสัญญาแบบ Dual Band หรือคลื่น 2.4 GHz กับ 5 GHz ได้ โดยมีความเร็วรวมสูงสุดที่ 5400Mbps แบ่งเป็น 574 Mbps สำหรับคลื่น 2.4 GHz และ 4804 Mbps สำหรับคลื่น 5 GHz ตามสเปกคือรองรับ Wi-Fi 6 ด้วย และยังมีเทคโนโลยีเชื่อมต่อไร้สายพิมพ์นิยมอย่าง OFDMA, BSS colouring และ MU-MIMO ที่เข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของเครือข่าย และช่วยจัดสรรค์แบนด์วิดท์ Wi-Fi ให้ใช้ได้ทุกอุปกรณ์
พอร์ตเชื่อมต่อมี USB 3.2 Gen 1 ส่วนพอร์ต LAN ก็มี 4 ช่อง และ WAN อีกช่องรวมเป็น 5 ช่อง ทั้ง 5 ช่องก็เสริมโลหะมาทุกช่องเลย ซึ่งก็ช่วยเพิ่มความแข็งแรงยิ่งขึ้น จุดสังเกตอย่างหนึ่งคือ มีช่อง LAN ที่ระบุว่าเป็น “Gaming Port” ด้วย ซึ่งมันคืออะไร เดี๋ยวรอดูได้ในช่วงท้ายรีวิวเลยครับ
เพื่อไม่ให้เสียชื่อ TUF Gaming ตัวเราเตอร์ก็มาพร้อมฮีทซิงค์ช่วยระบายความร้อนแบบพิเศษ โดยมาเป็นแผ่นประกบบน-ล่างมาเลย ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการระบายความร้อนให้ดีกว่าเราเตอร์ทั่วไปไม่น้อย โดยเฉพาะระบายความร้อนออกจากชิปซีพียู Broadcom ความเร็วสูง 1.5 GHz แบบ Tri-Core ภายในตัวเราเตอร์นี้เอง
ฮีทซิงค์อลูมิเนียมแบบประกบบน-ล่าง
เทียบตัวเราเตอร์ ASUS TUF AX5400 ถือว่ามีขนาดใหญ่อยู่เหมือนกัน
เกมมิ่ง Set-Up
สำหรับการ Set-Up ตั้งค่าใช้งานตัว ASUS TUF AX5400 จะทำผ่านในแอปฯ สมาร์ทโฟนเป็นหลัก เพื่อดูไปเลยว่า ใช้งานได้ยากง่ายแค่ไหน เริ่มแรกก็ไปดาวน์โหลดแอปฯ ASUS Router มาก่อน
จากนั้นก็ทำการเสียบสายอะไรให้เรียบร้อยตามนี้ แน่นอนว่ามีการเสียบสาย LAN ที่ช่อง Gaming Port ด้วย ซึ่งช่องนี้เองก็คือ พอร์ตที่มีการปรับปรุงประสิทธิภาพการเล่นเกมออนไลน์โดยเฉพาะ ซึ่งทาง ASUS ระบุว่าจะช่วยลดความ Lag ได้ด้วย ทว่าก็ยังมีอีกฟีเจอร์ที่น่าสนใจคือ True Multi-Gigabit ทำ Multi-Gigabit ทั้งช่อง WAN และ LAN เพื่อเพิ่มความเร็วเป็น 2 Gbps ได้เลย ใช้สำหรับสตรีมมิ่ง กับ เล่นเกมออนไลน์ ไปพร้อม ๆ กับ หรือใช้โอนถ่ายไฟล์ไปยัง NAS ก็ได้ด้วย
หน้าตั้งค่าใช้งานจากแอปฯ ASUS Router ดีไซน์ UI ได้สวยงามน่าใช้มาก สำหรับการตั้งค่าใช้งานครั้งแรก ก็ทำได้ไม่ยากเลย เพียงตั้งชื่อกับรหัส Wi-Fi และรหัสสำหรับ Log-in ใช้ตั้งค่าตัวเราเตอร์ เสร็จแล้วมันจะทำให้สแกนสัญญาณเน็ตที่ใช้อยู่ รวมไปอีกการอัปเดตระบบ เมื่อสิ้นสุดทุกอย่างก็พร้อมใช้งานแล้ว
เข้าสู่หน้า Home ของตัวเราเตอร์ ก็มีรายละเอียดตามภาพ หากไม่ถูกธีมสีน้ำเงิน ก็เปลี่ยนให้มันดูเกมมิ่งยิ่งขึ้นได้
ตรงไอคอนวงกลมตรงกลาง สามารถเลื่อนดูสถานะต่าง ๆ ของตัวเราเตอร์ได้ และหากต้องใช้งาน AiMesh ก็ตั้งค่าจากหน้านี้ได้ด้วย
หากไม่ถูกใจไฟ LED สีเหลืองของ TUF ก็สามารถมาตั้งค่าไฟสีอื่น ๆ ได้จากที่นี่ หรือตั้งเป็น RGB ให้มันกระพริบทุกสีเลยก็ได้
QoS เกมมิ่งในปุ่มเดียว ฟีเจอร์นี้ชอบเป็นการส่วนตัวเลย คือไม่ต้องคิดอะไรมาก ใครที่เป็นคอเกมอยู่แล้ว ก็กดเปิดใช้งานฟีเจอร์นี้ได้ กดแค่ครั้งเดียว ตัวเราเตอร์ก็จะเปลี่ยนเป็นโหมดเกมมิ่งทันที พร้อมกับดันการเล่นเกมออนไลน์ทั้ง PC กับ Console และอุปกรณ์พกพา เป็นความสำคัญอันดับที่ 1 ให้เลย
รวมหน้าตั้งค่าอื่น ๆ ที่มีในแอปฯ และในตัว ASUS TUF AX5400
อีกฟีเจอร์ที่ชอบ AiProtechtion ฟีเจอร์ช่วยป้องกันไวรัสและมัลแวร์ให้อัตโนมัติ โดยมันจะเปิดใช้งานเอง แสกนเองเลย อย่างในกรณีนี้ ลองเปิดเว็บเสี่ยงที่คิดว่ามีมัลแวร์แฝง ทันทีที่เปิด ตัวเราเตอร์หรือฟีเจอร์ AiProtechtion จะทำการ Block ให้ทันทีตามนี้
หน้าตั้งค่าตัวฟีเจอร์ AiProtechtion
เกมมิ่ง Wi-Fi เร็วแค่ไหน
มาทวนความจำอีกนิด สำหรับตัว ASUS TUF AX5400 เป็นเราเตอร์ Dual Band โดยมีความเร็วรวมสูงสุดที่ 5400Mbps แบ่งเป็น 574 Mbps สำหรับคลื่น 2.4 GHz และ 4804 Mbps สำหรับคลื่น 5 GHz สังเกตอะไรไหมครับ ใช่แล้ว คลื่น 2.4 GHz มีความเร็วเพียง 574 Mbps เท่านั้น อีกทั้งนี้คือความเร็วสำหรับการเชื่อมต่อ Wi-Fi 6 แล้วด้วย ทั้งนี้จุดเด่นของคลื่น 2.4 GHz ก็คือมีระยะสัญญาณ Wi-Fi ที่ไกลนี้เอง ฉะนั้นตัว ASUS TUF AX5400 ไม่ใช่เราเตอร์ที่มาช่วยให้สัญญาณ Wi-Fi ครอบคลุมทั่วบ้านโดยเฉพาะ
ทดสอบด้วยสมาร์ทโฟนที่รองรับ Wi-Fi 6 ในระยะไกลกับตัวเราเตอร์ ผลคือได้ความเร็วไปถึง 943/346 Mbps โหลดคือใกล้เคียงระดับ 1 Gbps เลย ส่วนอัปโหลดทะลุไปเรียบร้อย
ลองกับโน้ตบุ๊กที่มี Wi-Fi 6 อีกเช่นกัน ก็ได้ความเร็วโหลดและอัปโหลดพอ ๆ กันเลย
ลองออกห่างอีกหน่อย โดยมาอยู่ที่ห้องนั่งเล่นกลางบ้าน ส่วนตัวเราเตอร์ก็อยู่ที่ห้องทำงาน
วัดความเร็วด้วยโน้ตบุ๊กตัวเดิม ก็ได้ความเร็วที่ 482/334 Mbps ตามสภาพคลื่น 5 GHz แต่ความเร็วก็ยังสูงอยู่
สุดท้ายลองเชื่อมต่ออุปกรณ์พร้อมกันหลาย ๆ ตัว พร้อมทั้งเปิดใช้งานอินเทอร์เน็ตแบบเต็มที่ ทั้งวิดีโอ 4K กับโหลดไฟล์เกมมัน 3 เครื่องพร้อมกัน (ต่อสาย LAN กับเชื่อมต่อคลื่น 2.4 GHz อีกหนึ่ง) และมีสมาร์ทโฟนอีกตัว (รวมทั้งหมด 4 + 1 เครื่อง) คอยวัดความเร็วที่เหลือจากคลื่น 5 GHz ว่ายังเหลือให้อีกเท่าไร
ผลคือยังเหลือ ๆ ที่ 638 Mbps ใช้งานได้อีกสบาย ๆ
เกมมิ่ง LAN ช่วยอะไร
มาถึงส่วนสถดท้ายอย่างการเทสช่อง LAN Gaming Port ของตัว ASUS TUF AX5400 สำหรับการเทสนี้ ขอข้ามเรื่องเทคนิดไปเลย เน้นผลลัพธ์ล้วน ๆ ขอดูเลยว่า มันช่วยลดความ Lag หรือทำให้การเล่นเกมออนไลน์ไหลลื่นได้จริงไหม เลยลองทดสอบด้วยวิธีแบบบ้าน ๆ คือดูค่า Latency (ms) จากใน Open Resouce Monitor ของ Windows 10 มันตรง ๆ เลย และเกมที่นำมาเทสในครั้งนี้คือ Apex Legends เกมออนไลน์ที่ SV กระตุกได้ดีนักแล
เริ่มจากเสียบใช้งานช่อง LAN Gaming Port เรียบร้อย ผลที่ได้คือค่า Latency ของเกม Apex Legends อยู่ที่ 250 – 260 ms โดยประมาณ
ต่อไปยกตัว ASUS TUF AX5400 ออกไป แล้วต่อสาย LAN จาก Modem เดิม ๆ ในบ้าน ไม่มี LAN Gaming Port อีกต่อไป ผลคือค่า Latency ของเกม Apex Legends เพิ่มมาเป็น 288 – 290 ms เป็นอันพิสูจน์ได้ว่า ตัว LAN Gaming Port สามารถช่วยได้จริงครับ
สรุป