รีวิว : ASUS Vivowatch 5 สมาร์ทวอทช์อัจฉริยะ เหมือนหมอมาเอง

วงการสมาร์ทวอทช์ต้องสะเทือนกันเลย หลังเคยสร้างความฮือฮาตอนเปิดตัว Vivowatch SP ที่สามารถวัดความดันได้เทียบเครื่องมือแพทย์ ด้วยเซ็นเซอร์วัดแบบพิเศษ ที่ไม่มีในสมาร์ทวอทช์ตัวไหน ๆ คราวนี้วัดได้มากยิ่งกว่า และสวยหรูกว่าเดิมด้วย

รีวิวนี้พบกับ ASUS Vivowatch 5 สมาร์ทวอทช์ทรง Luxury นาฬิกาหรู แต่แฝงความอัจฉริยะภายในเพียบ สามารถวัดค่าสุขภาพร่างกายผู้ใช้ ได้ละเอียดราวกับหมอมาเอง อาทิ วัดอุณหภูมิจากผิวหนัง วัดความดังของเสียงกรน และแน่นอนว่ามีตัววัดความดันเหมือนรุ่น Vivowatch SP กับวัด Heart Rate การเต้นของหัวใจ Pulse O2 วัดออกซิเจนในเลือด และ DE-Stress level วัดค่าความเครียด สารพัดการวัดสุขภาพ ที่มีใน ASUS Vivowatch 5 ตัวเดียว ซึ่งจะใช้ได้ดีและวัดได้แม่นขนาดไหน มาดูกันครับ

ฟีเจอร์เด่น

  • ระบบเซ็นเซอร์ : Dual PPG , Dual ECG , Dual Infrared และ Temperature
  • ระบบการวัดค่า : PTT Index , SpO2 , Sleep , Stress และ Temperature
  • ระบบ Tracking : Fitness Modes , GPS , Altimeter , Gyroscope และ Accelerometer
  • ระบบ Analytics : Body Harmony , Women’s Health , ASUS Health AI และ Secure Sharing
  • หน้าจอ : High-reflective color LCD
  • ระบบ Bluetooth : 4.2
  • แบตฯ : 300 mA ใช้งานได้สูงสุด 10 วัน และ 14 วันในโหมด Power Saving
  • มาตรฐานกันน้ำ : 5 ATM (50 เมตร)

แกะกล่อง

อุปกรณ์ในกล่อง ASUS Vivowatch 5 x สายชาร์จ x 1 สายข้อมือสำรอง x 1 และชุดคู่มือ

งานออกแบบ

หน้าตาตัวเรือนของ ASUS Vivowatch 5 เป็นขอบอลูมิเนียมสีเงินอย่างดี และออกแบบได้เหมือนกับนาฬิกาหรูราคาแพง โดยจุดที่ช่วยทำให้ Vivowatch 5 เหมือนกับนาฬิกายิ่งขึ้นคือ หน้าจอแสดงผลแบบ High-reflective color LCD ที่สามารถคงการแสดงผลหน้าจอไว้ได้ตลอดเวลาในที่ ๆ มีแสง และมีไฟ Back Light LED เพื่อช่วยในการมองเห็นในที่มืดแลกกับดูในที่มืดไม่ได้เพื่อการประหยัดแ ทำให้สามารถประหยัดแบตฯ ได้อย่างมาก

หน้าจอแสดงผลขณะอยู่ในโหมด Power Saving

สามารถกดปุ่มด้านข้างเพื่อเปิดไฟ Black Light ทำให้เห็นได้ชัดเจนในที่มืด แต่ถ้ามีแสงสว่างเพียงพอ ก็สามารถเห็นหน้าจอได้ชัดเจนตามสภาพแสงเลยครับ

สายรัดข้อมือขนาด 22 มม. ที่สัมผัสได้เลยว่าเป็นยางซิลิโคนอย่างดี ให้ความยืดหยุ่นสูง และทำจากวัสดุไม่ระคายเคืองผิว อีกทั้งตัวเรือนยังมาพร้อมมาตรฐานกันน้ำ 5 ATM หรือลุยน้ำลึกได้สูงสุด 50 เมตร

การใช้งานและประสิทธิภาพ

  • ระบบเซ็นเซอร์ : Dual PPG , Dual ECG , Dual Infrared และ Temperature
  • ระบบการวัดค่า : PTT Index , SpO2 , Sleep , Stress และ Temperature
  • ระบบ Tracking : Fitness Modes , GPS , Altimeter , Gyroscope และ Accelerometer
  • ระบบ Analytics : Body Harmony , Women’s Health , ASUS Health AI และ Secure Sharing

เริ่มจากระบบเซ็นเซอร์ก่อน จะเห็นเลยว่ามีระบบเซ็นเซอร์คู่ (Sensor Dual) ถึง 3 ตัว อาทิ PPG , ECG และ Infrared รวมกับเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ Temperature อีก 1 ตัว ก็รวมเป็นทั้งหมด 7 เซ็นเซอร์ในตัว

ส่วนเซ็นเซอร์ที่น่าสนใจคือ PPG หรือ Photoplethysmogram วัดอัตราการเต้นของหัวใจด้วยแสง กับ ECG หรือ Electrocardiogram วัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ในตัว Vivowatch 5  มีสองเซ็นเซอร์แบบแพ็คคู่มาเลย ทำให้สามารถวัดค่าสุขภาพของผู้ใช้โดยรวม (PTT) ได้ทั้ง อัตราการเต้นของหัวใจ การนอนหลับ และระดับความเครียด ได้ในคราวเดียว

เพื่อเป็นการพิสูจน์คุณภาพ ทาง ASUS ได้ส่งเครื่องมือวัดความดันทางการแพทย์ มาให้ลองเทียบกันด้วย แต่จุดนี้ต้องออกตัวก่อนว่า เป็นครั้งแรกที่ได้ลองใช้เครื่องมือวัดความดันด้วยตัวเอง ฉะนั้นผมจะไม่ยืนยันแบบ 100% ว่าตัว Vivowatch 5 วัดค่าได้เหมือนกัน ชนิดทดแทนกันได้ แต่ขออิงความ ‘ใกล้เคียง’ กันแทนตามนี้

สำหรับการวัด PTT นั้น ต้องบอกเลยว่า ใช้เทคนิคอยู่เหมือนกัน คือต้องวางนิ้วให้ตรงกับเซ็นเซอร์จริง ๆ และลุ้นว่าเราวางได้ตรงจริงไหม เพราะถ้าวางนิ้วได้ตรง การวัดจะใช้เวลาไม่นานเลย ประมาณ 10 – 20 วินาทีก็เสร็จแล้ว แต่หากวางไม่ดีพอ อาจใช้เวลานานกว่านั้น ระดับนาทีก็มีมาแล้ว หรือหนักว่านั้นคือ การวัดจะหยุดกลางคันไปเลย ส่วนนี้เชื่อว่ายังเป็นที่ระบบโดยรวมของ Vivowatch 5 ซึ่งอาจต้องรออัปเดตต่อไปในอนาคต

และสำหรับผลการวัด คือได้ค่าความดันใกล้เคียงกันกันเครื่องวัดจริง ๆ ตามนี้ ส่วนตัวมองว่า พอใช้ทดแทนได้บางเวลา หรือใช้ในเบื้องต้นได้ดี แต่ถ้าเอาความชัวร์ แนะนำว่าลองไปวัดกับหมอหรือพยาบาลโดยตรงจะดีกว่า หากวันหนึ่งเราใช้ตัว Vivowatch 5 วัดแล้วได้ค่าเกินกว่าปกติ ก็ลองไปวัดให้ชัวร์อีกทีที่โรงพยาบาลได้

นอกจาก PTT แบบรวมแล้ว ตัว Vivowatch 5 ก็ใช้วัดค่าอื่น ๆ แยกได้ เช่น SpO2 วัดค่าออกสิเจในกระแสเลือด

Heart Rate วัดการเต้นของหัวใจ

Stress หรือ Body Harmony วัดระดับความเครียด

และทีเด็ดเลย วัดอุณหภูมิจากผิวหนัง ส่วนนี้แม้จะยังขึ้น Beta หรืออยู่ในช่วงทดสอบก็ตาม แต่ผลที่ได้ก็เป็นที่พึงพอใจ คือวัดได้แม่นพอ ๆ กับเครื่องวัดอุณหภูมิแบบเลเซอร์หรืออินฟราเรดกันเลย

นอกจากเซ็นเซอร์วัดค่าสุขภาพแล้ว ในตัวก็ยังมี GPS และ Altimeter มาตรวัดความสูงให้ในตัวด้วยเช่นกัน เหมาะสำหรับใครที่ชอบเดินขึ้นเขาหรือป่า

วัดเสียงกรนเวลานอน !!

อีกฟีเจอร์การวัดที่ไม่พูดถึงไม่ได้จริง ๆ คือ วัดการนอนหลับ พร้อมกับวัดระดับความดังของเสียงกรนด้วย !! คือตัว Vivowatch 5 ก็สามารถจับค่าการนอนได้เหมือน ๆ กับสมาร์ทวอทช์หรือ Fitness Tracker ทั่ว ๆ ไป โดยการวัดค่าการนอน ก็บอกได้เลยว่า เราตื่นไปกี่ครั้ง หลับลึกกี่ครั้ง อัตราการเต้นของหัวใจกับค่า SpO2 ระหว่างการนอนเป็นอย่างไร สุดท้ายสรุปเป็นคะแนนได้ว่า เรานอนได้ดีเพียงพอแค่ไหน เต็มร้อยเลยไหม บางส่วนก็สามารถดูได้ผ่านหน้าปัดตัว Vivowatch 5 โดยตรง

แต่ถ้าต้องการลึกกว่านั้น ก็ดูผ่านแอปฯ ได้ ซึ่งเดี๋ยวจะมีพูดถึงในหัวข้อถัดไป

ส่วนการวัดระดับเสียงกรน เสียดายที่ผมผู้เขียนรีวิว นอนกรนไม่ดังมากพอ จนตัวเครื่องไม่ได้วัดออกมาให้เห็นกัน ฉะนั้นเลยลองไปหาหน้าแอปฯ ที่มีตัวอย่างการวัดระดับเสียงกรนให้ด้วย จากภาพจะเห็นเลยว่า ตัว Vivowatch 5 สามารถวัดไปยันระดับเสียงเดซิเบล (dB) และรู้ว่าเรากรนเสียงดังในช่วงเวลาไหนได้ด้วย

นอกจากวัดค่าสุขภาพต่าง ๆ แล้ว ตัว Vivowatch 5 ก็ใช้วัดกิจกรรมออกกำลังกายหรือ Fitness Modes ได้เช่นกัน

แอปฯ ASUS HealthConnect

เพื่อให้ใช้งานตัว ASUS Vivowatch 5 ให้ได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น แน่นอนว่าต้องใช้ร่วมกับแอปฯ ASUS HealthConnect ที่จะช่วยบอกรายละเอียดของค่าสุขภาพที่วัดได้ให้มากขึ้นไปอีก ระดับที่จดเป็นสถิติ เพื่อนำไปวางแผนการพัฒนาสุขภาพได้ผู้ใช้ได้สบาย ๆ เสมือนมีหมอมาคอยเช็คสุขภาพให้เราตลอดเวลากันเลย

หน้า Home Screen เริ่มต้นของตัวแอปฯ UI ออกแบบได้สะอาดตามาก ๆ กับมีแบ่งหัวข้อผลการวัดให้เห็นกันง่าย ๆ ไล่เรียงมาเลย

และแต่ล่ะหัวข้อ ก็สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเป็นกราฟให้ดูเข้าใจง่ายกว่าเดิมได้ทั้งหมด

รวมถึงดูเป็นสถิติรายวันหรือรายเดือนก็ได้เช่นกัน

หน้าตั้งค่าตัว ASUS Vivowatch 5 กับตัวหน้าปัด ที่สามารถเลือกใช้ได้อีกหลากหลาย

สุดท้ายคือการวัดค่าสุขภาพแบบ Realtime และตั้งให้มีการแจ้งเตือนหากพบค่าผิดปกติได้ กับมีอีกบริการคือ Strava ช่วยแชร์ข้อมูลสุขภาพ เพื่อช่วยให้มีการวิเคราะห์แบบเชิงลึกในภายหลังได้เช่นกัน

สรุป

Shops
แชร์ :
review
  • วัสดุ / การออกแบบ
  • สเปค / ฟีเจอร์
  • ราคา / ความคุ้มค่า

Summary

หากใครอยากเช็คสุขภาพตัวเองตลอดเวลา ขอเน้น ๆ และขอแม่น ๆ ASUS Vivowatch 5 เกิดมาเพื่อสิ่งนี้เลยครับ คือเป็นสมาร์ทวอทช์ที่มีฟีเจอร์วัดค่าสุขภาพเยอะมาก ทั้ง PTT Index , SpO2 , Sleep , Stress และ Temperature และมีเซ็นเซอร์ช่วยวัดค่ามากกว่าสมาร์ทวอทช์หลายรุ่น

ด้านการใช้งาน หากนับเฉพาะตัว ASUS Vivowatch 5 จะสังเกตได้เลยว่า มีหน้าเมนูให้เท่าที่จำเป็นจริง ๆ เหมือนเน้นให้ใช้งานพวกฟีเจอร์วัดค่าต่าง ๆ เป็นหลัก ไม่มีตัวควบคุมเพลง หรือ หน้าตั้งค่าการแสดงผลหรือตัวสมาร์ทวอทช์อะไรมากมายเลย

แต่ก็ตามสไตล์สมาร์ทวอทช์ จะใช้ให้สุดก็ต้องใช้คู่กับแอปฯ อย่างตัว ASUS Vivowatch 5 สามารถใช้งานร่วมกับแอปฯ ASUS HealthConnect ได้ และช่วยให้ดูผลการวัดค่าสุขภาพได้ละเอียดขึ้น จุดนี้ต้องขอชมเรื่องการออกแบบ UI ของตัวแอปฯ เลย ดูเข้าใจง่ายมาก และให้อารมณ์เหมือนกำลังใช้งานแอปฯ จากทางการแพทย์ยังไงยังงั้น

ด้านประสิทธิภาพการวัดค่า จากเท่าที่เคยลองใช้สมาร์ทวอทช์หรือ Fitness Tracker มาหลายรุ่น ASUS Vivowatch 5 คืออุปกรณ์ที่วัดค่าสุขภาพได้แม่นยำที่สุดแล้ว ผลพวงจากการมีเซ็นเซอร์คู่หลายตัว คือไม่ได้มีเฉพาะใต้ตัวเรือน แต่ลามไปยันขอบหน้าปัดด้วย ซึ่งก็ใช้วัดค่าสุขภาพได้หลากหลายและไม่เหมือนใคร อาทิ วัดความดัน ที่ให้คุณภาพการวัดค่าได้พอ ๆ กับเครื่องมือแพทย์จริง ๆ เลย และยังมีวัดความดังของเสียงกรนตอนนอน อันนี้แอบเสียด้ายที่เป็นคนนอนไม่มีเสียงกรน ทำให้ไม่ได้ลองวัดความดังของเสียงกรนไป แต่ในแอปฯ ก็พอให้เห็นแล้วว่า สามารถวัดเสียงกรนได้เป็นเดซิเบล (dB) กันเลย

ท้ายนี้ก็ขอปิดด้วยข้อสังเกตจากตัว ASUS Vivowatch 5 อันดับแรกตัวสมาร์ทวอทช์ยังมีความใหม่มาก บางฟีเจอร์ยังเป็น Beta หรือเวอร์ชั่นทดสอบอยู่ เช่น ‘วัดอุณหภูมิจากผิวหนัง’ ซึ่งก็ต้องรออัปเดตต่อไป ถัดมาคือการวัดความดัน บ้างก็ใช้เวลาไม่นาน บ้างก็ใช้เวลานาน หรือวัดไม่ติดเลยก็มี อันนี้อาจต้องรอทาง ASUS อัปเดตแก้ไขกันต่อไป สำหรับตัว ASUS Vivowatch 5 รอดูประกาศราคา และลองไปจสัมผัสตัวจริงได้ที่งาน Commart วันที่ 25 – 28 นี้ ณ ไบเทค บางนา ได้ครับ

Pros

  • ฟีเจอร์วัดค่าสุขภาพเยอะมาก
  • มีเซ็นเซอร์วัดค่าต่าง ๆ แทบจะรอบตัว และสามารถวัดได้แม่นยำดี
  • ดีไซน์สวยหรูมาก ตั้งแต่ตัวเรือนไปจนถึงสายรัดข้อมือ
  • หน้าจอแสดงผลได้ตลอดเวลา และประหยัดแบตฯ
  • การใช้งานไม่ยุ่งยาก

Cons

  • บางฟีเจอร์ยังไม่เสถียร
  • หน้าจอแอบเป็นรอยง่ายนิด ๆ
  • การวัดค่าความดันอาจใช้เวลาวัดนาน
Comments Rating 0 (0 reviews)

Leave a Reply

User Review
  • วัสดุ / การออกแบบ
    Sending
  • สเปค / ฟีเจอร์
    Sending
  • ราคา / ความคุ้มค่า
    Sending

Follow us
Most popular
Category
Tag

Relate Article